top of page

บทที่1 ความรู้เกี่ยวกับศิลปะ

ความรู้ทั่วไปเกี่ยวกับศิลปะ

ศิลปะ หรือ ศิลป์ (สันสกฤ: ศิลฺป) ทั่วๆไปแล้วจะหมายถึงการกระทำหรือขั้นตอนของการสร้างชิ้นงานศิลปะโดยมนุษย์ ศิลปะเป็นคำที่มีความหมายกว้าง แต่ส่วนใหญ่แล้วจะมีความหมายเกี่ยวกับการสร้างสรรค์, สุนทรียภาพ หรือการสร้างอารมณ์ต่างๆ

งานศิลปะ จะรวมถึงชิ้นงานหลายๆชนิดโดยผู้สร้างตั้งใจสร้างชิ้นงานเพื่อสื่อสาร,สื่ออารมณ์,หรือใช้สัญลักษณ์เพื่อให้ผู้ชมชิ้นงานตีความ ผู้สร้างงานศิลปะ มักเรียกรวมๆ ว่า ศิลปิน

ศิลปะอาจรวมไปถึงงานในรูปแบบต่างๆเช่น งานเขียน บทกวี การเต้นรำ การแสดง ดนตรี งานปฏิมากรรม ภาพวาด-ภาพเขียน การจักสาน หรือ อื่นๆ อย่างไรก็ตามส่วนใหญ่แล้วศิลปะจะหมายถึงงานทางทัศนศิลปะพวก ภาพวาด-ภาพเขียน งานประติมากรรม งานแกะสลัก รวมถึง conceptual art และ installation art

1 ทัทัศนศิลป์

 มีความหมายตรงกับคำในภาษาอังกฤษว่า Visual Art หมายถึง ศิลปะที่สามารถรับรู้ได้ด้วยประสาทตา โดยการมองเห็นมิติที่มีความกว้าง ยาว สูง หรือความหนา สัมผัสจับต้องได้ ใช้กระบวนการถ่ายทอดผลงานโดยใช้จินตนาการสร้างความคิดสร้างสรรค์อย่างมีระบบ มีความสวยงาม ก่อให้เกิดความพึงพอใจ ต่อจิตใจและอารมณ์ของมนุษย์ ได้แก่ ภาพเขียน ภาพพิมพ์ งานปั้น แกะสลักและสิ่งก่อสร้างทัศนศิลป์

ทัศนศิลป์ แบ่งออกเป็น 4 ประเภท ตามสื่อวัสดุที่ใช้ในการสร้างงาน ได้แก่ จิตรกรรม ภาพพิมพ์ ประติมากรรม และสถาปัตยกรรม

จิตรกรรมจิตรกรรม (Painting) หมายถึง การวาดภาพ ขูด ขีด เขียน และระบาย ลงบนพื้นวัสดุ ได้แก่ กระดาษ ผ้า ผนังปูน แผ่นไม้ แผ่นหิน หรือวัสดุอื่นๆ เป็นการถ่ายทอดความงามและความรู้สึกนึกคิดลงบนพื้น เกิดเป็นภาพ 2 มิติ คือ มีความกว้างและความยาว แสดงเป็นสัญลักษณ์ หรือเรื่องราวตามความคิดของผู้วาด โดยใช้เส้น รูปร่าง รูปทรง สี แสง เงา สร้างให้เกิดภาพลวงตา มีระยะใกล้-ไกล ความตื้น-ลึก มองเห็นเป็นภาพ 3 มิติ

                          

ภาพพิมพ์ภาพพิมพ์ (Printing making) หมายถึง การสร้างงานที่ต้องอาศัยแม่พิมพ์ที่สร้างขึ้นด้วยเทคนิคต่างๆ เป็นต้นแบบสร้างงานที่มีลักษณะเหมือนแม่พิมพ์ได้หลายชิ้น เป็นภาพ 2 มิติ คือมีความกว้างและความยาว แสดงเป็นสัญลักษณ์เรื่องราวตามความคิดของผู้วาด โดยใช้เส้น รูปร่าง รูปทรง สี แสง เงา สร้างให้เกิดภาพลวงตา มีระยะใกล้-ไกล ความตื้น-ลึก มองเห็นเป็นภาพ 3 มิติ เช่นเดียวกับงานจิตรกรรม

 

ประติมากรรมประติมากรรม (Sculpture) หมายถึง การปั้น แกะสลัก หรือหล่อขึ้นเป็นรูปทรง 3 มิติ เป็นการถ่ายทอดความงามและความรู้สึกนึกคิดเป็นรูปร่าง รูปทรง จากวัสดุต่างๆ ด้วยการปั้นหรือแกะสลัก เช่น ขี้ผึ้ง ดินน้ำมัน ดินเหนียว ปูนปลาสเตอร์ ไม้ หิน เป็นต้น หรือการหล่อ เชื่อม ปะติดด้วยแผ่นโลหะเป็นรูปทรงต่างๆ รูปปั้น แกะสลักและรูปหล่อทั่วๆ ไป เรียกว่า ประติมากรรม ส่วนรูปปั้น แกะสลักและรูปหล่อที่เกี่ยวกับศาสนา เช่น พระพุทธรูป เรียกว่า “ปฏิมากรรม” ผู้สร้างสรรค์งานประติมากรรม เรียกว่า “ประติมากร”

 

 สถาปัตยกรรมสถาปัตยกรรม (Architecther) หมายถึง สิ่งก่อสร้างทั้งหลายที่ใช้ศิลปะและวิทยาการการก่อสร้างที่สนองความต้องการทางด้านร่างกายของมนุษย์ในเรื่องประโยชน์ใช้สอยและความต้องการด้านความเชื่อ ซึ่งมีรูปแบบที่แสดงเอกลักษณ์ของสังคมนั้นๆ ได้แก่ บ้านเรือนที่พักอาศัย อาคารที่เกี่ยวกับความเชื่อ ความศรัทธาและศาสนา คือ วัด มณฑป ปราสาทราชวัง อาคาร สะพาน รวมถึงการออกแบบผังเมือง และออกแบบตกแต่งบริเวณ (ภูมิสถาปัตย์) ความงามในงานสถาปัตยกรรมจะอยู่ที่สัดส่วนขององค์ประกอบที่สัมพันธ์กันของส่วนต่างๆ ทั้งภายในและภายนอก ความมั่นคง แข็งแรง และประโยชน์ใช้สอยศนศิลป์ (Visual art)

ขอบข่ายงานทัศนศิลป์

ขอบข่ายของศิลปะแบ่งออกเป็น 2 ประเภท ได้แก่ 1.วิจิตรศิลป์ 2.ประยุกต์ศิลป์ 3.องคฺ์ประกอบศิลปะ ได้แก่ -ทัศนธาตุ -การจัดองค์ประกอบศิลป์.

ความหมายของจุดและเส้น

จุดนั้นเป็นทัศนธาตุที่สามารถสัมผัสและให้ความรู้สึกได้น้อยด้วยจุดเป็นอนุภาคที่มีความกว้าง ความยาว และความหนา น้อยที่สุด เมื่อเทียบกับ บรรดาส่วนประกอบมูลฐาน หรือทัศนธาตุอื่น ซึ่งในทางด้านศาสตร์อื่น ๆ อาจจะตีค่าของจุดในทางต่ำสุด โดยให้คำนิยาม ของจุดว่า “เป็นสิ่งที่ ไม่มีความกว้าง ความยาว ความ หนา” แต่ในทางทัศนศิลป์ จุด มีค่า มากมายกว่านั้น ด้วยในทางศิลปะนั้นเกี่ยวข้องกับความรู้สึก มากกว่า การตีความ เพราะ จุด ๆ หนึ่งที่ปรากฏในภาพอาจจะค่อย ๆ แปรเปลี่ยน เป็นสิ่งต่าง ๆ ในจินตนาการก็ได้

เส้น

       เส้น คือ ร่องรอยที่เกิดจากเคลื่อนที่ของจุด  หรือถ้าเรานำจุดมาวางเรียงต่อ ๆ กันไป   ก็จะเกิดเป็นเส้นขึ้น  เส้นมีมิติเดียว  คือ  ความยาว ไม่มีความกว้าง ทำหน้าที่เป็นขอบเขต  ของที่ว่าง รูปร่าง รูปทรง น้ำหนัก  สี   ตลอดจนกลุ่มรูปทรงต่าง ๆ  รวมทั้งเป็นแกนหรือ โครงสร้างของรูปร่างรูปทรง  เส้นเป็นพื้นฐานที่สำคัญของงานศิลปะทุกชนิด เส้นสามารถให้ความหมาย แสดงความรู้สึก และอารมณ์ได้ด้วยตัวเอง และด้วยการสร้างเป็นรูปทรงต่าง ๆ ขึ้น  เส้นมี 2 ลักษณะคือ เส้นตรง   (Straight Line) และ เส้นโค้ง   (Curve Line)  เส้นทั้งสองชนิดนี้  เมื่อนำมาจัดวางในลักษณะต่าง ๆ กัน จะมีชื่อเรียกต่าง ๆ และให้ความหมาย ความรู้สึกที่แตกต่างกันอีกด้วย

เส้นประเภทต่างๆๆ และความรู้สึกของเส้น

ลักษณะของเส้น

    1. เส้นตั้ง หรือ เส้นดิ่ง  ให้ความรู้สึกทางความสูง  สง่า  มั่นคง  แข็งแรง  หนักแน่น เป็นสัญลักษณ์ของความซื่อตรง

    2. เส้นนอน ให้ความรู้สึกทางความกว้าง สงบ ราบเรียบ นิ่ง ผ่อนคลาย

    3. เส้นเฉียง หรือ เส้นทะแยงมุม ให้ความรู้สึก เคลื่อนไหว รวดเร็ว ไม่มั่นคง

    4. เส้นหยัก หรือ เส้นซิกแซก แบบฟันปลา ให้ความรู้สึก คลื่อนไหว อย่างเป็น จังหวะ  มีระเบียบ  ไม่ราบเรียบ น่ากลัว อันตราย ขัดแย้ง ความรุนแรง

    5. เส้นโค้ง แบบคลื่น ให้ความรู้สึก เคลื่อนไหวอย่างช้า ๆ ลื่นไหล ต่อเนื่อง สุภาพ อ่อนโยน นุ่มนวล

    6. เส้นโค้งแบบก้นหอย ให้ความรู้สึกเคลื่อนไหว คลี่คลาย หรือเติบโตในทิศทางที่หมุนวนออกมา ถ้ามองเข้าไปจะเห็นพลังความเคลื่อนไหวที่ไม่สิ้นสุด

    7. เส้นโค้งวงแคบ ให้ความรู้สึกถึงพลังความเคลื่อนไหวที่รุนแรง  การเปลี่ยนทิศทางที่รวดเร็ว ไม่หยุดนิ่ง

    8. เส้นประ ให้ความรู้สึกที่ไม่ต่อเนื่อง  ขาด  หาย  ไม่ชัดเจน  ทำให้เกิดความเครียด

bottom of page